อะเรย์ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบง่าย ที่พบมากในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษา
และมักใช้เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจโครงสร้างข้อมูลตัวอื่น ๆ อะเรย์
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้าย เซ็ตในคณิตศาสตร์
คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่
มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกับสมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน
เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก อะเรย์ ถือเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบสแตติค (Static
data structure) โดยอะเรย์จะมีขนาดคงที่ เป็นแถวลำดับแบบอันดับ (Ordered list )
ที่ประกอบด้วยชุดของตัวแปรที่มีลักษณะเป็นช่องหลาย ๆ ช่องที่มีชื่อเดียวกัน
สำหรับใช้เก็บข้อมูลชนิดเดียวกัน โดยข้อมูลที่อยู่ในช่องแต่ละช่อง จะเรียกว่า
เป็นสมาชิกของอะเรย์
แถวลำดับแบบอันดับ (Ordered list หรือ Linear list)
เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันแบบเรียงลำดับ (order)
หรือเป็นแถวเส้นตรง (linear)
ตัวอย่างเช่น
(A,B,C,D,….Z ) เป็นแถวลำดับแบบอันดับของตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือ
(Sun,Mon,Tue,Wed,….,Sat)
เป็นแถวลำดับแบบอันดับของวันในหนึ่งสัปดาห์
อะเรย์ มีคุณสมบัติหลัก ๆ ดังนี้
- มีขนาดคงที่
- ข้อมูลที่จัดเก็บแสดงผลออกมาแบบเรียงลำดับ (inorder)
- สามารถดึงสมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ออกมาได้
- สามารถแทนที่สมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ได้
- สามารถเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในแถวลำดับได้
- สามารถลบสมาชิกที่มีอยู่ออกจากแถวลำดับได้
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void
main()
{
char a[5]={'A','B','C','D','E'};
clrscr();
printf ("a[0] = %c\n",a[0]);
printf ("a[1] = %c\n",a[1]);
printf ("a[2] = %c\n",a[2]);
printf ("a[3] = %c\n",a[3]);
printf ("a[4] = %c\n",a[4]);
}
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น